บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018

การกำจัดขยะเปียก

รูปภาพ
การกำจัดขยะเปียก  ขยะเปียก หมายถึง ขยะจากโรงครัว เป็นเศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหาร และน้ำซาวข้าว หากทิ้งทั่วไปจะเป็นตัวทำให้เกิดมลภาวะมากที่สุด การบำบัดก่อนด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) จะเป็นประโยชน์และป้องกันมลพิษได้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 1 น้ำซาวข้าว หากปล่อยทิ้งลงร่องน้ำ แหล่งน้ำเสีย จะเป็นบ่อเกิดของมลภาวะสูงสุด หากมีการบำบัดก่อนทิ้ง จะลดการเกิดมลภาวะได้มากทีเดียว วิธีหมัก น้ำซาวข้าว 1 – 2 ลิตร ผสมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) หัวเชื้อ 10 ซีซี (1 ช้อนโต๊ะ ) และกากน้ำตาลเท่ากัน คนให้ละลาย บรรจุในภาชนะให้เต็ม หมักไว้ 5 – 7 วัน ระยะหมักได้ 2 – 3 วัน ควรเปิดระบายแก๊สออกบ้าง วิธีใช้ - ผสมน้ำ 500 เท่า รดพืชผักเสมอๆ มีคุณภาพเป็นปุ๋ย - ผสมน้ำ 100 เท่า สำหรับซักทำความสะอาดเสื้อผ้า โดยแช่ไว้ก่อน 20 – 30 นาที ขยี้แล้วล้าง 1 น้ำ ก่อนนำไปตาก - ผสมน้ำ 100 – 200 เท่า ล้างจาน ชาม เช็ดถูพื้น ผนัง - ผสมน้ำ 500 เท่า ฉีดพ่น ปรับสภาพอากาศในบ้าน หรือแหล่งที่อากาศไม่บริสุทธิ์ 2 ขยะจากเศษอาหาร หากนำไปทิ้ง จะเป็นเหตุให้เกิดมลภาวะ และเกิดเชื้อโรคได้มา...

การกำจัดขยะ

รูปภาพ
การกำจัดขยะ  ขยะที่กระจัดกระจายบนผิวดิน นำมากองรวมกัน หรือทับถมกันอยู่ ในน้ำ ทำให้เกิดกลิ่น และมีแมลงวัน กำจัดด้วยการใช้ EM ขยาย ผสมน้ำ 500 เท่า ( หากขยะแห้ง ผสมน้ำ 1,000 เท่า ) ฉีดพ่นให้ทั่ว ทุกครั้งที่นำขยะมาทิ้งจะส่งผลให้ 1. ขยะถูกย่อยได้เร็ว 2. แมลงวันลดลง 3. กลิ่นหมดไป 4. น้ำที่ไหลออกไปเป็นน้ำปุ๋ย ขยะที่กองในที่ลุ่ม หรือมีหลุมฝังกลบ ใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) พ่นต่อเนื่อง เมื่อมีการนำขยะมาทิ้งใหม่ 5 – 7 วัน ให้กลบดินบางๆ การกลบดินจะช่วยให้เกิดการหมักและย่อยสลายได้เร็วขึ้น ขยะจะยุบ และถมต่อได้อีกหลายครั้ง การนำขยะไปทำปุ๋ย ต้องหมักด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) จึงจะไม่เป็นพิษภัย เพราะขยะหลายชนิดมีพิษ ขยะมีพิษ ขุดหลุมฝังอย่างเดียว ก่อนกลบ ควรพ่นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) ให้ทั่วแล้วกลบ จะไม่เกิดพิษต่อไปได้อีก ขอขอบคุณข้อมูล โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กฟผ.

การบำบัดน้ำเสีย

รูปภาพ
การบำบัดน้ำเสีย  ใช้อุปกรณ์สำคัญ 2 อย่าง คือ 1. EM ขยาย - ใช้ฉีดพ่น 1 ลิตร : น้ำ 10 ลูกบาศก์เมตร (1 : 10,000) 2. EM Ball ( ดังโงะ ) - กำจัดโคลนตมใต้ผิวน้ำ และบำบัดน้ำเสียที่มีลักษณะเคลื่อนไหว ในอัตราส่วน 1 ลูก : น้ำ 10 ลูกบาศก์เมตร การบำบัดน้ำเสียจากโรงงาน โรงแรม โรงเลี้ยงสัตว์ โรงอาหาร จะมีแหล่งเกิดน้ำเสียชัดเจน การแก้ปัญหาน้ำเสีย ทำดังนี้ 1. พ่น EM ขยาย หรือใช้ EM Ball ( ดังโงะ ) บำบัดน้ำเสียทั้งหมด ในบ่อน้ำบำบัดและแหล่งเก็บอื่นๆ 2. ผสม EM ขยาย กับน้ำที่ไหลออกจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียตลอดเวลา ( เช่น ระบบน้ำหยด ) แล้วน้ำจะไม่เน่าเสีย แต่ควรมีบ่อบำบัดด้วย ขอขอบคุณข้อมูล โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กฟผ.

การกำจัดกลิ่น

รูปภาพ
การกำจัดกลิ่น  กลิ่นเกิดจากขยะเน่าเสีย หรือน้ำเสียจากโรงงานและจากแหล่งเลี้ยงสัตว์ กลิ่นเหม็นเหล่านี้ เมื่อสูดดมเข้าไปอาจทำให้สุขภาพไม่สมบรูณ์ เกิดโรคภูมิแพ้ และโรคอื่นๆ ได้ง่าย จึงควรกำจัดหรือบำบัดให้ลดน้อยลง หากบำบัดด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) กลิ่นจะหายไป แต่ยังมีกลิ่นจากมูลสัตว์ กากมัน และอื่นๆ ซึ่งสามารถกำจัดได้ด้วย EM ขยายเช่นกัน ด้วยการผสมน้ำ แล้วฉีดพ่นให้ทั่ว 1. กลิ่นจากบ่อบำบัดน้ำเสียต่างๆ 1. ใช้ EM ขยาย พ่น ราด ทุกๆ 3 วัน 2. นำ EM ขยาย ใส่ภาชนะแล้วปล่อยให้หยดหรือไหลผสมกับน้ำที่ออกจากโรงงานตลอดเวลาที่มีน้ำไหล กลิ่นจะหายไป และน้ำจะดีขึ้น 2. กลิ่นจากแหล่งเลี้ยงสัตว์ 1. ใช้ EM ขยาย ผสมน้ำ รด ฉีด พ่น 3 วัน / ครั้ง จนกว่าจะหาย ( ปกติกลิ่นจะหายภายใน 1 วัน ) 2. ใช้สุโตจู ผสมน้ำ ฉีด พ่น ราด สลับกับข้อ 1 3. กลิ่นจากซากพืช - สัตว์ หรือ ห้องน้ำ - ห้องส้วม ใช้ EM ขยาย ผสมน้ำสะอาด 50 - 200 เท่า พ่น ฉีด ราด กลิ่นจะค่อยๆ จางหายไป ขอขอบคุณข้อมูล โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กฟผ.

การใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) กับสิ่งแวดล้อม

รูปภาพ
การใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) กับสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญอย่างยิ่งต่อธรรมชาติ มนุษย์และสัตว์ กระบวนการและเทคนิคของเกษตรเคมีเป็นการทำลาย สิ่งแวดล้อมและสร้างมลภาวะ ซึ่งวิธีการแก้ไขที่ดีที่สุด คือ การใช้วิธี ธรรมชาติปรับให้คืนสู่ธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนา ปรับปรุง ส่วนที่เป็น ธรรมชาติให้เจริญถาวร เกษตรกรสามารถอยู่อย่างพอเพียง พึ่งพาตนเองได้ ร่วมกันสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป การใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) กับสิ่งแวดล้อม แบ่งเทคนิคการใช้ออกเป็นเรื่องย่อยๆ ดังต่อไปนี้ 1. การกำจัดกลิ่น 2. การบำบัดน้ำเสีย 3. การกำจัดขยะ 4. การกำจัดขยะเปียก ขอขอบคุณข้อมูล โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กฟผ.

สารบัญวิธีการปลูก/การดูแลรักษาแก้วมังกร

สารบัญวิธีการปลูก/การดูแลรักษาแก้วมังกร วิธีการปลูก แก้วมังกร   วิธีการดูแลรักษาต้นแก้วมังกร   เคล็ดลับการดูแลรักษาต้นแก้วมังกร   การขยายพันธุ์  

การขยายพันธุ์

รูปภาพ
การขยายพันธุ์ วิธีการขยายพันธ์แก้วมังกรที่ง่ายและสะดวก คือการปักชำแต่มีเทคนิคที่สำคัญหลายประการคือ เกษตรกรต้องเลือกเฉพาะกิ่งที่แก่เท่านั้น อย่าใช้กิ่งอ่อนเพราะจะเน่าเสียก่อน เมื่อได้กิ่งแก่มาปักชำส่วนใหญ่จะรอดตาย 100% กิ่งแก่ในแต่ละกิ่งสามารถตัดเป็นท่อนได้หลายท่อน ตัดให้มีความยาวประมาณ 12 นิ้ว ก่อนที่จะปักชำให้เอาทางโคนปักลง (สังเกตจากทางโคนจะมีหนามตั้งขึ้น) ก่อนที่จะนำกิ่งมาปักชำ นั้น ควรจะนำกิ่งแก่มาจุ๋มในน้ำที่ผสมน้ำยาเร่งราก (ใช้น้ำยาเร่งรากในอัตราเข้มข้นกว่าปกติ)จุ๋มกิ่งแก้วมังกรลงไปในน้ำยาลึกประมาณ 10 ซม.แล้วนำมาตั้งเรียงไว้ในร่มเป็นเวลา 7-10 วัน จนกิ่งเริ่มเหี่ยว ตั้งกิ่งให้ตรง             สำหรับเกษตรกรที่เริ่มปลูกควรจะเลือกกิ่งประเภทนี้ที่ผ่านการแช่น้ำยาเร่งรากแล้ว เพราะจะสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายได้รับการกระทบกระเทือนน้อยที่สุดและขนได้ครั้งละปริมาณมาก หลังจากได้กิ่งไปแล้วนำไปปักชำในแปลงเพาะที่เตรียมเอาไว้           สำหรับกิ่งประเภทที่นำลงถุงแล้วจะเคลื่อนย้ายค่อนข้างลำบากและขน...

เคล็ดลับการดูแลรักษาต้นแก้วมังกร

รูปภาพ
เคล็ดลับการดูแลรักษาต้นแก้วมังกร ต้นแก้วมังกรเป็นผลไม้หรือพืชตระกูลเดียวกับต้นตะบองเพชรจึงไม่ค่อยชอบน้ำ ในฤดูหนาวและฤดูร้อนควรให้น้ำแค่สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ก็พอ ส่วนในหน้าฝนไม่จำเป็นต้องรดน้ำ การใส่ปุ๋ยในการบำรุง ควรให้ปุ๋ยปีละ 2-3 ครั้ง ช่วงเวลาในการใส่ปุ๋ยคือ ครั้งที่ 1 ให้ใส่ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ควรใส่ปุ๋ยคอกจะเป็นการดีต่อสุขภาพและก็ประหยัดด้วย รสชาติของลูกแก้วมังกรก็จะออกมามีรสชาติหวานอมเปรี้ยวนิดๆ และที่สำคัญดินก็จะไม่แน่นเหมือนกับเราใส่ปุ๋ยเคมี   ครั้งที่ 2 ให้ใส่ปุ๋ยในช่วงเดือนมกราคม เป็นการช่วยในการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ โดยใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยจากมูลสัตว์เช่นเคย ครั้งที่ 3 ให้ใส่ปุ๋ยในช่วงเดือนเมษายน เป็นการเตรียมและก็ช่วยเร่งให้ต้นแก้วมังกรออกดอก   เมื่อต้นแก้วมังกรออกยอดสูงพ้นเกินเสานิดหน่อย ให้ใช้มือเด็ดตรงปลายยอดทิ้ง เพื่อเป็นการทำให้ต้นแก้วมังกรแตกยอดออกมาได้มากๆ ถอนหญ้าที่ขึ้นตรงโคนต้นทิ้งเป็นประจำ เพื่อให้ต้นแก้วมังกรได้รับอาหารเต็มที่โดยไม่ต้องแย่งอาหารกับต้นหญ้า เมื่อครบ 2 ปี หลังจากที่ต้นแก้วมังกรออกผลจนหมด ในช่วงเดือนตุลาคมควรตัดแต่งกิ่งให้สวยงาม...

วิธีการดูแลรักษาต้นแก้วมังกร

รูปภาพ
วิธีการดูแลรักษาต้นแก้วมังกร ขั้นตอนการดูแลต้นแก้วมังกร ต้นแก้วมังกรเป็นต้นไม้ประเภทเดียวกันกับกระบองเพชร จึงไม่ชอบน้ำ ในฤดูหนาวและฤดูร้อนควรให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนในฤดูฝนไม่ต้องให้น้ำเลย           - การให้ปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยปีละ 2-3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ควรให้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ( ถ้าให้ปุ๋ยคอกรสชาติของแก้วมังกรจะออกหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย และดินจะไม่แน่น)           ครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนมกราคมเป็นการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 ครั้งที่ 3 ในช่วงเดือนเมษายนเป็นการเตรียมและเร่งให้ต้นแก้วมังกรออกดอกควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีตัวหลังเยอะหน่อย เช่น 15-17-18 หรือสูตร 10-10-40 เป็นต้น           - ถ้าต้นแก้วมังกรออกยอดสูงพ้นเกินเสานิดหน่อย ให้ใช้มือเด็ดปลายยอดทิ้ง เพื่อเป็นการทำให้แก้วมังกรแตกยอดออกมากๆ           - หญ้าที่ขึ้นใกล้ๆ โคนต้น ควรถอนออก...

วิธีการปลูกแก้วมังกร

รูปภาพ
วิธีการปลูก แก้วมังกร            1. ขั้นตอนการเตรียมเสา           - ใช้ท่อใยหินกว้าง 4-6 นิ้ว หรือเสาคอนกรีต ขนาด 4 x4 เมตร สูง 1.5-2.0 เมตร (ตามความชอบและงบประมาณ)           - นำท่อมาเจาะรูที่ปลาย 4 รู เพื่อใช้เหล็กเส้นสอดเข้าไป           - ตัดเหล็กเส้นให้ได้ขนาดตามยางรถ ใช้เสาละ 2 เส้น           - นำเหล็กเส้นสอดเข้าไป แล้วนำยางรถมาวาง ใช้ลวดมัดให้แน่นหนา แข็งแรง           2. ขั้นตอนการปลูก(ควรปลูกในฤดูฝน)           - ขุดหลุมให้ได้ขนาด 60x60x60 เซนติเมตร           - นำเสาที่เจาะรูแล้วใส่ลงไปในหลุม แล้วใช้ดินกลบเล็กน้อย           - นำปุ๋ยคอกใส่ลงไปในหลุมจนเกือบเต็มหลุม   ...

สารบัญสูตรปุ๋ยต่างๆ

สารบัญสูตรปุ๋ยต่างๆ  วิธีทำ EM Ball ( ดังโงะ )  การทำโบกาฉิ ( ปุ๋ยแห้ง )   การทำจุลินทรีย์ขยาย   การทำ EM หมักน้ำซาวข้าว   การทำน้ำนมฮอร์โมน   การทำฮอร์โมนผลไม้   การทำสารไล่แมลง ( สุโตจู หรือ EM 5)   การทำสารสกัดพืชหมัก (EM F.P.E)   สารสมุนไพรใช้ปราบศัตรูพืชปราบหญ้า   สารสมุนไพรชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อราเอ็นเท็กโนส   สูตรป้องกันเชื้อราหรือไร   สูตรไล่หอยหรือเพลี้ยไฟป้องกันใบข้าวไหม้   สูตรพริกไล่เพลี้ยไฟ   สูตรกาแฟไล่แมลงศัตรูพืช   การทำฮอร์โมนยอดพืช    การจุลินทรีย์น้ำ(ใช้ทันที)    การทำซุเปอร์โบกาฉิผสมอาหารสัตว์    การทำสารไล่ศรัตรูพืชสูตรเข้มข้น ( ซุปเปอร์สุโตจู )  

การทำสารไล่ศรัตรูพืชสูตรเข้มข้น (ซุปเปอร์สุโตจู )

รูปภาพ
การทำสารไล่ศรัตรูพืชสูตรเข้มข้น ( ซุปเปอร์สุโตจู )  ส่วนผสม เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี                     2 ส่วน ( หรือ 2 แก้ว ) น้ำส้มสายชู                                   1 แก้ว จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM)              1 ส่วน ( หรือ 1 แก้ว ) กากน้ำตาล                                    1 ส่วน ( หรือ 1 แก้ว ) วิธีการทำ นำส่วนผสมมาผสมให้เข้ากัน ใส่ภาชนะปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 7 - 10 วัน เขย่าถังเบาๆ ทุกวัน และเปิดฝานิดๆ ให้ก๊าซระบายออกมา ครบกำหนด เก็บใส่ขวดพลาสติก ...

การทำซุเปอร์โบกาฉิผสมอาหารสัตว์

รูปภาพ
การทำซุเปอร์โบกาฉิผสมอาหารสัตว์ เปลือกหอยป่น                      2 ขีด กระดองปูม้า, ปูทะเล                2 ขีด กระดูกสัตว์ป่น                      2 ขีด แกลบเผา                            2 ขีด ปลาป่น                              6 กก. กากถั่ว                             ...

การจุลินทรีย์น้ำ (ใช้ทันที)

รูปภาพ
การจุลินทรีย์น้ำ (ใช้ทันที) น้ำสะอาด                           10 ลิตร จุลินทรีย์ EM                        1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล                          1 ช้อนโต๊ะ วิธีทำ           ผสมจุลินทรีย์ EM และกากน้ำตาล ผสมในน้ำให้เข้ากัน วิธีใช้           พืช ผัก ใช้ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน ไม้ดอก ไม้ผล พืชสวน ฉีดพ่นทุก 7 วัน โดยใช้ให้หมดภายใน 1 วัน หากไม่หมดให้นำไปราดในห้องน้ำ ล้างพื้นซีเมนต์หรือเทลงท่อระบายน้ำ ขอขอบคุณข้อมูล โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กฟผ.

การทำฮอร์โมนยอดพืช

รูปภาพ
การทำฮอร์โมนยอดพืช ยอด/ใบยูคาลิปตัส                  1 กก. ยอดสะเดา                           1 กก. (ยอดและเมล็ด) น้ำสะอาด                           1 ถัง จุลินทรีย์ EM                        1 แก้ว กากน้ำตาล                          1 แก้ว วิธีทำ           นำใบยูคาลิปตัส ยอดสะเดา และน้ำ 1 ถัง ต้มรวมกันจนเหลือน้ำ ½ ถัง ทิ้งให้เย็น ผสมจุลินทรีย์ EM ...

สูตรกาแฟไล่แมลงศัตรูพืช

รูปภาพ
สูตรกาแฟไล่แมลงศัตรูพืช  ส่วนผสม เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี                     2 ส่วน ( หรือ 2 แก้ว ) น้ำส้มสายชู                                   1 แก้ว จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM)              1 ส่วน ( หรือ 1 แก้ว ) กากน้ำตาล                                    1 ส่วน ( หรือ 1 แก้ว ) กากกาแฟ                               ...

สูตรพริกไล่เพลี้ยไฟ

รูปภาพ
สูตรพริกไล่เพลี้ยไฟ  ส่วนผสม เหล้าขาวไม่เกิน 40 ดีกรี                     2 ส่วน ( หรือ 2 แก้ว ) น้ำส้มสายชู                                   1 แก้ว จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM)              1 ส่วน ( หรือ 1 แก้ว ) กากน้ำตาล                                    1 ส่วน ( หรือ 1 แก้ว ) น้ำสะอาด                               ...

สูตรไล่หอยหรือเพลี้ยไฟ ป้องกันใบข้าวไหม้

รูปภาพ
สูตรไล่หอยหรือเพลี้ยไฟ ป้องกันใบข้าวไหม้  ส่วนผสม จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM)              1 ส่วน ( หรือ 1 แก้ว ) กากน้ำตาล                                    1 ส่วน ( หรือ 1 แก้ว ) ยอดยูคาลิปตัส                                2 กิโลกรัม ยอดสะเดา                                    20 ยอด ( หรือ 1 ปี๊บ ) ข่าแก่                  ...