การกำจัดขยะเปียก
การกำจัดขยะเปียก
ขยะเปียก หมายถึง
ขยะจากโรงครัว เป็นเศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหาร และน้ำซาวข้าว หากทิ้งทั่วไปจะเป็นตัวทำให้เกิดมลภาวะมากที่สุด
การบำบัดก่อนด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) จะเป็นประโยชน์และป้องกันมลพิษได้
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1
น้ำซาวข้าว
หากปล่อยทิ้งลงร่องน้ำ
แหล่งน้ำเสีย จะเป็นบ่อเกิดของมลภาวะสูงสุด หากมีการบำบัดก่อนทิ้ง จะลดการเกิดมลภาวะได้มากทีเดียว
วิธีหมัก
น้ำซาวข้าว 1 – 2 ลิตร ผสมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) หัวเชื้อ
10 ซีซี (1 ช้อนโต๊ะ) และกากน้ำตาลเท่ากัน
คนให้ละลาย บรรจุในภาชนะให้เต็ม หมักไว้ 5 – 7 วัน ระยะหมักได้
2 – 3 วัน ควรเปิดระบายแก๊สออกบ้าง
วิธีใช้
- ผสมน้ำ 500 เท่า รดพืชผักเสมอๆ มีคุณภาพเป็นปุ๋ย
- ผสมน้ำ 100 เท่า สำหรับซักทำความสะอาดเสื้อผ้า โดยแช่ไว้ก่อน 20 – 30 นาที ขยี้แล้วล้าง 1 น้ำ ก่อนนำไปตาก
- ผสมน้ำ 100 – 200 เท่า ล้างจาน ชาม เช็ดถูพื้น ผนัง
- ผสมน้ำ 500 เท่า ฉีดพ่น ปรับสภาพอากาศในบ้าน หรือแหล่งที่อากาศไม่บริสุทธิ์
2
ขยะจากเศษอาหาร
หากนำไปทิ้ง จะเป็นเหตุให้เกิดมลภาวะ
และเกิดเชื้อโรคได้มาก ควรบำบัดก่อนทิ้งโดยใช้วิธีหมักดังนี้
วิธีหมัก
- สับหรือหั่นให้ละเอียด
ผสมโบกาฉิในอัตราส่วน เศษอาหาร 1 กิโลกรัม : โบกาฉิ 1 กำมือ (100 กรัม)
- ใส่ถังหมักที่ทำขึ้นเองหรือถังสำเร็จ
ครั้งเดียวเต็มถัง หรือหลายครั้งก็ได้ เมื่อเต็ม หมักไว้ 7 วัน
วิธีใช้
หมักให้ครบ 7 วัน เปิดน้ำใส่ภาชนะไว้ใช้ กากนำไปเป็นปุ๋ย โดยวิธีฝัง หรือเป็นอาหารสัตว์
เช่น ไก่ ปลา
นำน้ำหมักไปใช้ดังนี้
- ผสมน้ำ 500 เท่า เป็นปุ๋ยรดพืชผัก
- ผสมน้ำ 100 เท่า เช็ดถูพื้นห้องน้ำ กระเบื้องโมเสค *เช็ดกระจก เฟอร์นิเจอร์
รถยนต์ ฯลฯ (ต้องบิดผ้าให้สะเด็ดน้ำ)
- บำบัดน้ำเสียด้วยการเทลงโถส้วม
แหล่งน้ำสาธารณะ
ขอขอบคุณข้อมูล
โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กฟผ.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น